วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ย่อ: ป.พ.พ.)
                      เป็นประมวลกฎหมายแพ่ง อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ (อังกฤษ: substantive law) แห่งประเทศไทย เริ่มร่างครั้งแรกใน ร.ศ. 127 ตรงกับ พ.ศ. 2451 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญาเมื่อปีเดียวกัน เพื่อริเริ่มขอยกเลิกบรรดาสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำไว้กับต่างประเทศอันมีผลให้สยามต้องเสียเปรียบในด้านสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเอกราชทางการศาล
การจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยนั้นมี เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค (เยอรมัน: Bürgerliches Gesetzbuch) หรือประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน และ มินโป (ญี่ปุ่น: 民法, Minpō) หรือประมวลกฎหมายแพ่งแห่งญี่ปุ่น เป็นแม่แบบหลัก กับทั้งมีประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Code civil des Français) และ ซีวิลเกเซทซ์บุค (Zivilgesetzbuch) หรือประมวลกฎหมายแพ่งสวิส เป็นแม่แบบรอง ประกอบกับกฎหมายเดิมของสยามเอง กับทั้งกฎหมายของชาติอื่น ๆ และกฎหมายระหว่างประเทศอีกประปราย]โดยงานร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า เฉพาะการร่างบรรพแรกจากที่วางโครงการไว้ทั้งหมดหกบรรพนั้น ก็กินเวลานานถึงสิบห้าปี ใช้งบประมาณมหาศาล และมีการเปลี่ยนคณะกรรมการร่างถึงสี่ชุด ทุกชุดมีชาวฝรั่งเศสเป็นสมาชิก โดยเฉพาะชุดแรกเป็นชาวฝรั่งเศสทั้งหมด หลังจากนั้นจึงเริ่มทยอยร่างและประกาศใช้บรรพอื่น ๆ จนครบ ทั้งหมดกินเวลากว่าสามสิบปี ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาจนปัจจุบันตามสถานการณ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีโครงสร้างแบ่งเป็นหกบรรพ ประกอบด้วย บรรพ 1 หลักทั่วไป, บรรพ 2 หนี้, บรรพ 3 เอกเทศสัญญา, บรรพ 4 ทรัพย์สิน, บรรพ 5 ครอบครัว และบรรพ 6 มรดก ตามลำดับ โดยตั้งแต่เริ่มมีผลใช้บังคับครั้งแรกใน พ.ศ. 2468 จวบจนถึงบัดนี้ ประมวลกฎหมายดังกล่าวมีอายุเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น